อยู่ในระหว่างการทดสอบการใช้งาน

“รักษ์บวร รักษ์ศีล 5” ถวายเป็นพุทธบูชา และบูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์

โครงการธรรมยาตรา

โครงการธรรมยาตรา
เส้นทางพระผู้ปราบมาร ปีที่ 11

สืบเนื่องจากคณะสงฆ์ทั้งแผ่นดิน องค์กรทางพระพุทธศาสนา องค์การพุทธโลก และภาคีเครือข่าย 20 องค์กร ร่วมกันจัดกิจกรรมธรรมยาตราฯ ในระหว่างวันที่ 2-31 มกราคม พ.ศ. 2566 ในพื้นที่ 6 จังหวัด ในเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร เพื่อน้อมถวาย เป็นพุทธบูชา และบูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์ เยาวชน และประชาชน ได้ร่วมกิจกรรมธรรมยาตรา ถวายสัฆทาน สวดมนต์ ปฎิบัติธรรม อปจายนมัย ทำให้สังคมไทย สงบสุข ยั่งยืนด้วย บารมีธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ธรรมยาตรา
คืออะไร

คำว่า ธรรมยาตรา นี้ ไม่มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก แต่เป็นคำที่มาจากการนำคำว่า "ธรรม" และ "ยาตรา" มาประกอบกัน คำว่า ธรรม นั้น ในคัมภีร์พุทธศาสนา และในพจนานุกรมฉบับต่างๆ ได้ให้ความหมายไว้หลายอย่าง เช่นว่าหมายถึง สภาพที่ทรงไว้, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจธรรม, ความจริง,ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ, ความยุติธรรมเป็นต้น ส่วนคำว่า ยาตฺรา เท่าที่ปรากฏเฉพาะในพระไตรปิฏก (45 เล่ม ก็มีถึง 48 หน้า) และในคัมภีร์ขยายความพระไตรปิฎก เช่น อรรถกถา เป็นต้นอีกหลายแห่ง ทั้งหมดได้ให้ความหมายของคำว่า ยาตฺรา ไว้ว่า ความเป็นไปแห่งชีวิต, ความเป็นไปแห่งอิริยาบถ, ความดำรงอยู่แห่งชีวิต, ความออกไปหรือหนีไป

หลักการและเหตุผล

“โครงการธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน ๗ แห่ง ปีที่ ๑๑” ในระหว่างวันที่ ๒ - ๓๑ มกราคม ๒๕๖๖ เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชาและบูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์ ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้คณะสงฆ์ คณะผู้บริหาร ครูอาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้ร่วมสวดมนต์ ปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนา จุดประทีปถวายบูชาธรรม และร่วมต้อนรับและอนุโมทนากิจวัตร พระธรรมยาตราผ่านระบบออนไลน์ สร้างความเป็นสิริมงคลในวาระปีใหม่ อีกทั้งเป็นการฟื้นฟูและสืบสานวัฒนธรรมชาวพุทธให้กลับคืนสู่บ้าน วัด โรงเรียน อย่างยั่งยืน ฝึกให้มีความอ่อนน้อมถ่อมตนตามหลักธรรม อปจายนมัย ทําให้สังคมไทยสงบสุข ยั่งยืนด้วยบารมีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบไป

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจาริกไปโดยลำดับ ถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี เข้าไปหาพวกภิกษุปัญจวัคคีย์ พวกภิกษุปัญจวัคคีย์เห็นเราเดินทางมาแต่ไกล...”

เส้นทางพระผู้ปราบมาร

ธรรมยาตรา
การดำเนินไปด้วยธรรม

“ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราพ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นมนุษย์ แม้พวกเธอก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ พวกเธอจงเที่ยวจาริก เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ พวกเธออย่าได้ไปรวมทางเดียวกันสองรูป จงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุดจงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์ บริสุทธิ์ สัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย มีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็จักไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรม”

พระวินัยปิฎกเล่มที่ 4 มหาวรรค ภาคที่ 1

พระมงคลเทพมุนี
(สด จนฺทสโร)

พระมงคลเทพมุนี นามเดิม สด มีแก้วน้อย ฉายา จนฺทสโร เป็นพระภิกษุนิกายเถรวาทฝ่ายมหานิกายชาวไทย ในบรรดาหมู่ผู้ศรัทธานับถือมักเรียกท่านด้วยชื่อ "หลวงพ่อวัดปากน้ำ" เนื่องจากท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี (ปัจจุบันคือกรุงเทพมหานคร) ท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงในฐานะพระวิปัสสนาจารย์ผู้ฟื้นฟูและสืบทอดการปฏิบัติกรรมฐานพุทธานุสติโบราณ ที่เรียกว่าวิชชาธรรมกาย

กิจกรรมของโครงการ

ประมวลภาพความประทับใจล่าสุด

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในโครงการ