Getting your Trinity Audio player ready...
|
หาจุดสบายให้เจอ
ผ่อนคลายทุกส่วนของร่างกายของเรานะ ทั้งเนื้อทั้งตัให้รู้สึกสบาย ต้องสบายแล้วก็ทิ้งทุกอย่าง ปล่อยวางทุกสิ่ง นิ่งอย่างเดียว อย่าให้ใจไปเกาะ ไปเกี่ยว ไปเหนี่ยว ไปรั้งเรื่องอะไรนะ ทำใจใสๆ ใจสบายๆจุดสบาย คือ จุดที่เรานั่งแล้ว เราไม่อยากเลิก อยากอยู่กับอารมณ์นี้ไปนานๆ โดยไม่อิ่ม ไม่เบื่อ สบายตรงไหนเอาตรงนั้นไปก่อน เพราะเรารู้ว่า จุดสุดท้ายจะต้องมาอยู่ที่ศูนย์กลางกาย ฐานที่ ๗ เพราะฉะนั้นสบายตรงไหนเอาตรงนั้นไปก่อน
ถ้าเราหาจุดสบายเจอ จะทำให้มีอารมณ์อยากนั่งไปนานๆ อยากให้ใจเราอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่อยากคิดเรื่องอะไรเลยอยากอยู่กับตัวเอง เพราะฉะนั้นสบายตรงไหนก็เอาตรงนั้นก่อนอาจจะอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายของเรา เช่น ข้างหน้าเราหรือภายในตัวของเราตามฐานต่างๆ ที่เราคุ้นเคย สบายตรงไหนเอาตรงนั้นไปก่อน นี่เป็นเรื่องที่สำคัญนะ เพื่อให้ใจของเราพร้อมที่จะนึกถึงดวงใสๆ หรือองค์พระใสๆ ที่กลางกายถ้าเรายังไม่พร้อมแล้วไปนึก มันจะตึง จะเกร็งจะเบื่อ จะนั่งได้ไม่นานเท่าไร แต่ถ้าเรามีความพร้อมเพราะเราได้อารมณ์สบาย มันก็อยากจะนึกถึงดวงหรือองค์พระ หรือพระเดชพระคุณหลวงปู่อยู่ที่กลางกาย มีอารมณ์อยากจะนึกเพราะฉะนั้นอย่าฟังผ่าน อย่ามองข้ามไปนะที่เราเสียเวลาไปนานๆ เพราะเราหาตรงนี้กันไม่เจอ ใจยังไม่พร้อมเลย จะน้อมไว้ตรงกลางเลย หรือนึกภาพเลย มันจะตึงจนกระทั่งเร่งจนคุ้นลุ้นจนเคยนั่นแหละ ดูความพร้อมของเราก่อน ถ้าเราได้อารมณ์สบายจริงๆ แล้วความพร้อมก็จะเกิดขึ้นถึงตอนนี้จะนึกน้อมอะไรก็ง่าย ฉันทะก็จะเกิดขึ้น สติสบายก็จะ เกิดขึ้นอย่างง่ายๆ และอย่างสม่ำเสมอเอง
อารมณ์สบาย
อารมณ์สบาย คือ ทางสายกลางนั่นเอง ที่ไม่ใช่สายตึงหรือสายหย่อน สายตึง คือ มีสติเพ่งเกินไป สายหย่อน คือ สบายเกินไป จนผล็อยหลับ หรือฟุ้งไป คิดเรื่องอื่นถ้าสบายจริงๆ ใจจะนิ่งๆ นุ่มๆ และอยู่กับเราได้นานๆอีกทั้งเราพึงพอใจและชอบอารมณ์นี้ พอเราได้อารมณ์นี้ อะไรมันก็ง่ายหมดแล้วพอใจสบาย บุญเก่าก็จะได้ช่องส่งผลเข้ามาภายในตัวเราได้ แสงสว่างก็จะได้ช่องเข้ามาภายใน ความสุขก็จะได้ช่องเข้ามา ความบริสุทธิ์ก็จะได้ช่องเข้ามา ธรรมะก็ได้ช่องเข้ามาไม่ว่าจะเป็นดวงใสๆ กายภายใน หรือองค์พระจะได้ช่องเข้ามาตอนที่เราสบาย เพราะฉะนั้นต้องหมั่นฝึกตรงนี้ให้คุ้นเคยและ จนชิน จนเรายอมรับว่า นี่คืออารมณ์สบายที่เหมาะสำหรับเราและหลังจากนั้นก็ฝึกซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ
หมั่นสังเกตว่า ทำอย่างไรเราถึงจะได้อารมณ์นี้ เราเผลอไปทำอย่างไร อารมณ์นี้ถึงหลุดจากใจของเรา สังเกตแล้วเราก็ปรับปรุงแก้ไข พร้อมจะเริ่มต้นใหม่อย่างง่ายๆ Set Zero ใหม่อย่างง่ายๆ ณ จุดสบาย ไม่ว่าจะนอกตัว ในตัว หรือกลางตัว
อีกทั้งทุกวัน ทุกคืน จะต้องหมั่นถามตัวเองอยู่เสมอว่า ตอนนี้ใจเราอยู่ที่ไหน ไกลตัว ใกล้ตัว หรือกลางตัว เมื่อเราตอบได้ว่า ใจเราอยู่ตรงไหน แล้วก็ปรับให้เข้าสู่สภาวะอารมณ์ สบายดังกล่าว
เดี๋ยวใจก็จะกลับเข้ามาสู่จุดที่ตั้งดั้งเดิมที่ถูกหลักวิชชา ที่จะทำให้ทุกสิ่งดังกล่าวได้ช่องเข้ามา ตั้งแต่ความสุข ความบริสุทธิ์ความสว่าง ดวงใส กายใส องค์พระใส จะได้ช่องเข้ามาในตอนนี้แล้วลูกจะมีปีติสุขหล่อเลี้ยงใจ อิ่มอกอิ่มใจเบิกบานใจจะอยู่เป็นสุขในองค์กร จะสร้างบารมีอย่างมีความสุข สนุกต่อการสร้างบารมี ไม่ว่าเราจะมีภารกิจที่เราได้รับมอบหมายภารกิจอะไรก็ตาม เราจะมีอารมณ์ดี มีดวงปัญญา มีวิธีการที่อยากจะทำสิ่งนั้นให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีความสุขในทุกๆภารกิจ ภารกิจกับจิตใจจะไปด้วยกันอย่างเป็นไปตามธรรมชาติเหมือนเราหายใจเข้าออกโดยที่เราไม่ต้องนึกถึงได้อย่างง่ายๆสบายๆ
วันเวลาได้กลืนกินความแข็งแรงร่างกายของลูกๆ ไปหมดทุกคน รวมทั้งของหลวงพ่อด้วย เพราะฉะนั้นวันเวลาที่เหลืออยู่นี้ จะต้องหาจุดสบายให้เจอ เพื่อนั่งเข้าไปสู่ธรรมะภายใน แล้วเราก็จะสามารถศึกษาวิชชาธรรมกายได้ทั้งองค์กรอย่างที่เราได้ตั้งใจไว้ด้วยดี ตั้งแต่วันแรกที่เราทิ้งทุกอย่าง วางทุกสิ่ง วิ่งเข้าวัดมาสร้างบารมี ทุกๆ ภารกิจลูกก็จะทำอย่างมีความสุขและสนุกสนานบุญบันเทิง ประกอบไปด้วยสติ ปัญญา มีความสุขสดชื่นตลอด ปีติและภาคภูมิใจในทุกสิ่งที่เราได้ทำ
วันศุกร์ที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙