อยู่ในระหว่างการทดสอบการใช้งาน

หน้าแรกสื่อธรรมะคำสอนคุณครูไม่ใหญ่

คำสอนคุณครูไม่ใหญ่

Most Commented

ทําตัวประดุจผ้าขี้ริ้ว

       ตอนท่านมีชีวิตอยู่ จะบอกหลวงพ่ออยู่เรื่อย ๆ ว่าต้องเป็นผ้าขี้ริ้วเช็ดเท้านะ ใครเขาจะเหยียบย่ําเราก็ช่างเขาเถอะ ใจเรา จะได้สบาย ไม่หงุดหงิด ไม่งุ่นง่าน ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่รําคาญใจ ใจจะได้ใส ๆ ศึกษาวิชชาธรรมกายได้ละเอียด แล้วท่านก็บอกอีกว่า ตึกใหญ่ ๆ ทั้งหลัง จะกี่สิบกี่ร้อยชั้นก็ตาม ลงทุนสร้างกันเป็นพัน ๆ...

บทสรุปงบดุลชีวิต

ถ้าใครใจใส...ก็ไปสุคติโลกสวรรค์ ถ้าใครใจหมอง...ก็ไปอบาย ตอนก่อนจะเดินทางไปสู่ปรโลก แทนที่จะตัดสินกันด้วยความชํานาญในอาชีพ ที่เราได้ฝึกฝนเลี้ยงชีพมาตลอดชีวิต หรือตัดสินจากการได้ครอบครองทรัพย์สิน มีลาภ ยศ สรรเสริญ พวกพ้องบริวาร หล่อ รวย สวย ฉลาดก็หาไม่ แต่กลับไปตัดสินกันที่หมองกับใส ซึ่งเกิดจากบุญและบาปที่ได้กระทําไว้ เป็นบทสรุปงบดุลชีวิตในตอนนั้นว่า ใจใครจะผ่องใสหรือเศร้าหมอง “หมองกับใส” ขึ้นอยู่กับการกระทําของเราตอนที่ยังแข็งแรงอยู่ ทั้งทางกาย วาจา ใจ ถ้าทําบุญ สร้างความดี ใจก็จะผ่องใส ไม่เศร้าหมอง ถ้าทําบาปใจก็เศร้าหมอง...

การแก้แค้นที่ถูกวิธี

การแก้แค้น...ไม่ใช่การเอาคืนอย่างสาสม แก้แค้นอย่างนี้ ยิ่งเป็นการผูกโกรธ ยิ่งผูก ก็ยิ่งทุกข์ ยิ่งยุ่งเหยิง คําว่า “แก้แค้น” ครูไม่ใหญ่ว่า หมายถึง ความแค้นที่ผูกไว้กับเขาถูกแก้ออก “แก้” คือ ทําให้หลุด หรือทําให้คลาย เช่น เราแก้เชือกที่ผูกมัดอะไรออก หรือแก้เชือกห่อก๋วยเตี๋ยวออกมาเปิดกินกัน เป็นต้น ดังนั้น แก้แค้น จึงหมายความว่า แก้ให้ความแค้นคลายออก จนหายโกรธหายแค้นไปเลยด้วย “สันติวิธี” พอแก้ออกได้ ความเจ็บใจ คับใจก็หายไป ใจก็จะเย็นสบาย สุดท้ายจะมีความสุขกันทุกฝ่าย อย่างนี้จึงจะเรียกได้ว่า “แก้แค้น” 11 กันยายน พ.ศ. 2545

อารมณ์ใส อย่าปล่อยให้เสีย

       สมมติว่า เราไปเจอสิ่งที่กําลังทําให้อารมณ์ขุ่นมัว เราต้องมีสติอยู่กับตัวของเรา รักษาใจไว้ ดูใจของเรา รักษาใจให้ใส ๆ หากอยู่บริเวณนั้น โอกาสจะใสยาก ก็เปลี่ยนบริเวณ เปลี่ยนทิศ เปลี่ยนทาง เปลี่ยนสถานที่ แล้วก็นิ่ง ๆ เอาไว้ เพราะอารมณ์ที่ทําให้ ขุ่นมัวจะอยู่กับเราไม่นาน พอเราไม่สนใจ มันก็ไม่ขุ่น ใจจะเริ่มใส...

จิ้งหรีดน้อย..มึนหัวหรือยังเจ้า?

ชีวิตในสังสารวัฏ มีแต่บุญกับบาปเท่านั้นที่คอยพัดผันชีวิตเราให้เป็นไปในเรื่องราวต่าง ๆ มีกฎแห่งกรรมซึ่งเป็นยิ่งกว่ากฎเหล็กทั้งหลายในโลก ที่คอยบังคับบัญชาสรรพสัตว์และสรรพสิ่งทั้งหลายอยู่ ใคร ๆ ก็ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ แม้บุคคลนั้นจะเชื่อหรือไม่เชื่อ จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ทุกคนล้วนตกเป็นเชลยอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรมทั้งสิ้น ถ้าไม่รู้หรือไม่ได้ศึกษาเรื่องกฎแห่งกรรม การดําเนินชีวิตในสังสารวัฏอันตรายมาก ชีวิตจะถูกเขาปั่นเหมือนจิ้งหรีดที่เขาเอามาปั่นหัวเล่น หรือถูกเขาเอาใส่ครกโขลกให้มีความทุกข์ทรมานตลอดเวลา บังคับให้เราทําไม่ดีทั้งทางความคิด คําพูด และการกระทํา เอาวิบากมารองรับให้ไปทุกข์ทรมานในอบายอีกยาวนาน พอหมดกรรมจากอบาย มาเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ ทําให้ลืมเสียอีก ลืมเรื่องราวในอดีต ไม่เห็นเรื่องราวในอนาคต ไม่รู้เรื่องราวในปัจจุบัน มีชีวิตอยู่กันไปวัน...

อดีตที่ผิดพลาด…ลืมให้หมด

ชีวิตของเราแต่ละคนล้วนเคยพลาดพลั้งกันมาทั้งนั้น ไม่มากก็น้อยชีวิตต่อไปอย่าให้พลั้งพลาดอีก แล้วก็จํา 5 ข้อเอาไว้ คือ ข้อ 1 อย่าไปตอกย้ําซ้ําเดิมสิ่งที่ผิดพลาด เดี๋ยวดวงบาปมันจะโต ให้ลืมไปเลย เหมือนเราไม่เคยเจอมาก่อน ข้อ 2 สิ่งที่เป็นบาปอกุศลทุกชนิดไม่ทําเพิ่มอีก ข้อ 3 หมั่นนึกถึงบุญที่ได้สั่งสมมาทั้งหมด ข้อ 4 สั่งสมบุญให้เยอะ ๆ ทั้งทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ข้อ 5 ปลอดภัยที่สุด คือ...

Editor Picks