อยู่ในระหว่างการทดสอบการใช้งาน

หน้าแรกสื่อธรรมะคำสอนคุณครูไม่ใหญ่

คำสอนคุณครูไม่ใหญ่

Most Commented

ใครบอกว่าวัดพระธรรมกาย ไม่ทําสังคมสงเคราะห์?

ครูไม่ใหญ่ทําบุญทุกวันเลย สร้างพระธรรมกายประจําตัวทุกวัน ถวายภัตตาหารเป็นสังฆทานแด่พระภิกษุสามเณรผู้ประพฤติธรรมทุกวัน สร้างลานธรรมทุกวัน กฐินรายวันอีก แล้วก็บุญอะไรอีกตั้งหลายอย่าง ทําทุกวันอย่างสม่ำเสมอ เพราะเราก็อยากรวยรายวัน แล้วก็อยากรวยทุกวัน รวยมาก็ไม่ใช่อะไรหรอก ก็จะนํามาสร้างบารมีต่อ ชาตินี้ไม่ค่อยได้เห็นเงินเห็นทองกับเขาหรอก เห็นเฉพาะอยู่ข้างหน้าแวบเดียว แล้วหายไปเลย แล้วก็เปลี่ยนมาเป็นสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ สาธารณกุศล ที่จะเป็นทั้งโรงเรียนและโรงพยาบาล เป็นโรงเรียน ที่สอนให้รู้เรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต ที่ไม่มีโรงเรียนไหน ๆ ในโลกเขาสอนกัน เป็นโรงพยาบาล รักษาไข้ใจ ที่เกิดจากกิเลส โลภะ โทสะ...

การแผ่เมตตาทําให้ใจเป็นสุข

การแผ่เมตตาทํา ให้ใจเราเป็นสุข แผ่กระแสแห่งความปรารถนาดีของเรา ไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีประมาณ ให้สรรพสัตว์ทั้งหลายอยู่เย็นเป็นสุข พ้นจากทุกข์โศกโรคภัยพิบัติต่าง ๆ ใครที่เคยทํา ให้เราขุ่นข้องหมองใจ ขุ่นมัว เราก็ให้อภัยเขา ไม่โกรธตอบ ไม่ผูกโกรธ ไม่ผูกพยาบาทการผูกโกรธ ผูกพยาบาท เป็นเหตุให้ใจเราเศร้าหมอง ขุ่นมัว เป็นทุกข์ หลับก็ไม่เป็นสุข ตื่นก็ไม่เป็นสุข เหมือนคนป่วยอย่างนั้น   11 มีนาคม พ.ศ. 2531

เราตายได้ แต่พระพุทธศาสนาตายไม่ได้

การที่เรารักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้ ก็เพื่อตัวเราและชาวโลก ไม่ได้แข่งกับใคร คําสอนในพระพุทธศาสนามีความจําเป็นในการดําเนินชีวิตที่ถูกต้องของทุกคนเป็นอย่างมาก แม้วันนี้เพื่อนมนุษย์ทั้งหลายยังไม่เข้าใจ เขายังไม่มีเวลามาศึกษา ก็ไม่เป็นไร เรายังคงรักษาความรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอาไว้ สักวันหนึ่งเมื่อบุญเก่าได้ช่องส่งผล เขาจะเกิดความรู้สึกว่ามีบางสิ่งลึก ๆ กระตุ้นเตือนจิตสํานึกให้เขาอยากมาศึกษาเรียนรู้เรื่องราวความเป็นจริงของชีวิตขึ้นมา ตอนนั้นความรู้ตรงนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเขา ความรู้ในพระพุทธศาสนา เป็นความรู้สากลที่ทุกคนจะต้องศึกษา ต้องเรียนรู้ ไม่รู้ไม่ได้ ไม่รู้อันตราย เพราะจะทําให้ดําเนินชีวิตไม่ถูกต้อง ดังนั้นที่เรารักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้ก็เพื่อการนี้ ไม่ได้ไปแข่งกับใคร เพราะคู่แข่งของเราคือเวลา เราต้องทํา งานแข่งกับเวลา เนื่องจากเรามีเวลาอยู่ในโลกนี้จํากัด แค่ประเดี๋ยวเดียว รวยก็รวยประเดี๋ยวเดียว จนก็จนประเดี๋ยวเดียว...

เรารักพระพุทธศาสนา

การโจมตีว่าร้าย โดยเริ่มต้นที่หลวงพ่อก่อน ว่าร้ายวัดพระธรรมกายยังไม่มีปัญหา แต่ไปกระทบสังฆมณฑล ทําให้ศรัทธาของพุทธศาสนิกชนคลอนแคลน มีหลายวัดจํานวนมากได้มาเล่าให้หลวงพ่อฟัง เดี๋ยวนี้พระเณรจะอดตายกันแล้ว ญาติโยมไม่ค่อยจะใส่บาตรตักบาตรกัน เพราะว่าสับสนกับสื่อที่ออกไปอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ใครไปตักเตือนสื่อได้ ก็ให้ไปตักเตือนกัน จะด้วยวิธีการใดก็ไปบอกเขาว่า อย่าไปทํา มันเป็นบาปกรรม เป็นสิ่งที่ไม่ดี พลอยทําให้คนอื่นเดือดร้อนด้วย เอาเฉพาะหลวงพ่อธัมมชโยเดือดร้อนรูปเดียวก็พอแล้ว อย่าไปทําให้คนอื่นเดือดร้อน ช่วยกันปกป้องพระพุทธศาสนากันนะ แล้วก็วิชชาธรรมกาย ซึ่งเป็นวิชชาหรือเป็นวิธีการที่จะให้เข้าถึงพระธรรมกายในตัว นี่เป็นเป้าหลักเป้าหมายที่จะสอนให้ทุกคนเข้าถึงวิชชาธรรมกาย ถึงพระธรรมกายในตัว เพราะถ้าเข้าถึงได้แล้ว จะมีความสุขมาก...

วิบากกรรมสื่อเสี้ยม บิดเบือน ทําลายพระพุทธศาสนา

มีคําถามว่า ผู้ที่จงใจเสนอข่าวบิดเบือน เกี่ยวกับเรื่องพระพุทธศาสนา ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าไม่เป็นความจริง กับผู้ที่ไม่ได้ตั้งใจบิดเบือนข่าวพระพุทธศาสนา แต่เพราะตนเองเข้าใจผิดจริง ๆ แต่ก็มีผลสร้างความเสียหายให้กับพระพุทธศาสนาเหมือนกัน ทั้งสองประเภทนี้จะได้รับวิบากกรรมเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ทั้งสองประเภทนี้ จะได้รับวิบากต่างกัน คือ พวกแรกจะหนักกว่า เพราะมีอกุศลเจตนาอย่างแรงกล้า ซึ่งก็จะมีวิบากกรรมให้ไปมหานรกขุม ๔ นี่แค่ตัวอย่างนะ จะถูกนายนิรยบาลจับบิดตัว ถลกหนังออก แล้วเอาปากกาเหล็กร้อนเขียนไปบนเนื้อ แล้วถูกทิ่มแทงด้วยอุปกรณ์การเขียนที่เป็นเหล็กร้อน หรือฝนตัวอักษรที่เคยบิดเบือนเอาไว้ เขียนไว้เป็นล้าน ๆ...

วอนสื่อมวลชน ได้โปรดอย่าทําลายหัวใจชาวพุทธ

นักข่าวมีเสรีภาพในการนําเสนอข่าว อันนี้ถูก แต่ต้อง “พอดี” ต้องอย่าเหลิงเจิ้งเรื่อยเปื่อย จนกระทั่งเกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง กับบุคคลที่พาดพิงถึง หรือกับสังคม พอดี ดูตรงไหน ดูว่า มันเหมาะ มันควรไหม ถ้าเหมาะควรก็ทําไปเลย ถ้าเรื่องจริง มีประโยชน์...เขียนไป เรื่องจริง แต่ไม่เกิดประโยชน์...ไม่เขียน เรื่องจริง มีโทษ...ไม่เขียน ถ้ายิ่งเรื่องไม่จริง...ยิ่งไม่ควรเขียน ดูว่าอะไรถูกผิด อาจดูได้ไม่ยาก แต่เหมาะควร เราจะเอาอะไรมาเป็นเกณฑ์ พระสารีบุตรได้กล่าวเรื่องนี้ไว้ว่า สิ่งไรที่เราคิด พูด หรือทํา น้อมไปในทางกุศลธรรม คือยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วทําให้เจริญยิ่งขึ้น อย่างนี้เรียกว่า เหมาะควร แต่สิ่งไรตรงกันข้ามกัน น้อมไปทางอกุศลธรรม...

Editor Picks